ข่าวเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในแขวงอัตตะปือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลา วแตก สาเหตุจากการก่อสร้างไม่ได้มาตร ฐาน ทำให้เกิดความเดือดร้อนเกิดอุทก ภัยและโศกนาฏกรรมแก่ประชาชนคนใน พื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ าและไม่น่าเกิดขึ้นเพี ยงเพราะการดูแลแก้ไขปัญหาไม่ทั นท่วงที หรืออาจจะเกิดจากความประมาทเลิน เล่อของเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทราบ จะอย่างไรก็ตามต้ องขอแสดงความเสียใจพร้อมส่งกำลั งใจไปยังประสบภัยและผู้สูญเสี ยในครั้งนี้ด้วย
ล่าสุดข่าวที่เกี่ยวกับเขื่อนแล ะน้ำที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็มีข่าวทำนองเดียวกันคือ น้ำในเขื่อนจังหวัดเพชรบุรี ที่สูงเกินระดับมาตรฐาน ซึ่งไม่เข้าใจเช่นเดียวกันว่าทำ ไมผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงปล่ อยให้มาถึงจุดนี้ได้ ทำไมจึงไม่มีการเฝ้าระวังและระบ ายน้ำไปก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ ท้ายที่สุดก็ต้องปล่อยน้ำระบายอ อกมาทางสปิลเวย์ จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมสร้างค วามเดือดร้อนไปตามเส้นทางน้ำที่ ผ่าน ท่วมหมู่บ้าน ท่วมตลาด ท่วมถนนที่ชาวบ้านเคยสัญจรไปมา จังหวัดเพชรบุรีนั้นมีเขื่อนอยู่ ทั้งหมด 3 เขื่อน คือเขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนแม่ประจัน และเขื่อนเพชร ซึ่งเขื่อนที่มีปัญหาน้ำล้นอยู่ ในขณะนี้ก็คือ เขื่อนแก่งกระจานที่มีอาณาเขตติ ดกับชายแดนเมียนมาทางฝั่งมะริด ทะวาย วิธีการระบายน้ำผ่านทางสปิลเวย์ อย่างเดียวคงจะไม่พอ ล่าสุดเห็นว่าจะมีการเปิดประตูเ ขื่อนให้น้ำระบายออกมาทีละน้ อยด้วยอีกทางหนึ่ง จะอย่างไรก็ตามน้ำส่วนเกินนี้ก็ กำลังมุ่งพุ่งตรงมายังตัวเมืองเ พชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านแหลม โดยไปตามเส้นคู คลองชลประทานต่าง ๆ ส่วนหนึ่งก็จะต้องผ่านเขื่อนเพช รซึ่งอยู่ใกล้กับอำเภอท่ายาง ถ้าระดับน้ำยังล้นเกินก็จะมีปัญ หากับชาวบ้านพื้นที่แถบนี้อย่าง แน่นอน
จากข่าวที่นำเสนอผ่านทางทีวี ดูแล้วก็บรรยากาศคล้ายๆ กับกรุงเทพมหานครในปี 2554 คือชาวบ้านร้านตลาดเริ่มก่ออิฐ ถือปูน วางกระสอบทราย กั้นผ้าใบหวังว่าจะป้องกันน้ำที่ หลากไหลลงมาได้ แอบคิดในใจว่า “ไม่น่าจะมีอะไรที่จะสู้กับพลัง ของธรรมชาติได้” เพราะเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้ว ทำทุกวิถีทางทั้งใช้ดินน้ำมั นใส่ถุงก๊อปแก๊ปยัดใส่โถส้วมกั นน้ำมาจากทางนี้ การปิดยาแนวด้วยปูนชั้นดี การก่ออิฐ ซ้อนด้วยกระสอบทรายทับด้วยผ้าใบ ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ “เอาไม่อยู่” แต่ก็เข้าใจพี่น้องชาวเพชรบุรี เพราะจะต้องแก้ไขตามสถานการณ์.. .ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ว่าจะอย่างไรก็ขอเอาใจช่วยแล ะเป็นกำลังใจให้อีกทางนะครับ
ถ้าจะวิเคราะห์เจาะลึกกันจริงๆ สาเหตุส่วนหนึ่งน่ าจะมาจากการบริหารจัดการน้ำที่ ประเทศของเรายังทำได้ไม่ดีพอ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เพราะบ้านเราประสบพบเจอปัญหา “น้ำท่วม ฝนแล้ง ซ้ำซาก” มาหลายสิบปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงเล ย สาเหตุหลักอีกหนึ่งของปัญหาที่ น่าจะเกี่ยวข้องก็คือ การที่รัฐยังปล่อยให้มีการตั ดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง จนทำให้พื้นที่ป่าดิบสมบูรณ์กลา ยเป็นป่าพืชไร่เลื่อนลอย เนื่องด้วยปล่อยชาวบ้านหักร้างถ างพงปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่และพืชผักต่างๆ จนระบบนิเวศน์ของดินและผืนป่าเป ลี่ยนแปลงไป เพราะระบบรากของพืชไร่และพืชผัก ต่างๆ ที่มนุษย์ปลูกนั้น มีความแตกต่างจากป่าไม้ยืนต้นธร รมชาติที่หยั่งรากลึกแผ่ขยายไปไ ด้กว้างไกล ทำให้พื้นที่หน้าดินมีความสามาร ถสูงกว่ามากในการดูดซับกักเก็บน้ำ ฝน ปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยปีหนึ่ง สูงเกือบ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในอดีตป่าไม้ยืนต้นทำหน้าที่ในก ารกักเก็บน้ำฝนได้มากถึง 70% และอีก 30 % ที่เหลือไหลลงสู่ห้วย หนอง คลอง บึง และมุ่งไปยังเขื่อนต่างๆ ทำให้ป่าในอดีตทำหน้าที่เป็นแก้ มลิงซับน้ำให้ไหลลงสู่เขื่อนอย่ างพอเหมาะพอดีแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อ “ป่าเขาลำเนาไพร” ส่วนใหญ่กลายเป็น “ป่าเขาหัวโล้น” จึงทำให้ไม่มีความสามารถในการกั กเก็บซับน้ำ จึงทำหน้าที่กักเก็บน้ำได้เพียง 30% และอีก 70% ก็ไหลปรี่ลงไปยังทะเล ซึ่งระว่างทางที่จะถึงทะเลก็ จะมีข่าวเกือบทุกปีที่มีพายุ โหมกระหน่ำว่าจะมีดินถล่ม โคลนสไลด์ ซุงไหลทับผู้คนล้มตาย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวชี้ วัดได้ว่ายังมีการ “ตัดไม้ทำลายป่า” อยู่นั่นเอง
อีกสถานการณ์หนึ่งที่รัฐบาลอาจจ ะนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์แ ก้ไขปัญหาก็คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่า “เอลนีโญและลานีญา” ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 4-5ปี ล่าสุดก็เพิ่งจะเกิดขึ้นไปเมื่อ ปี 2555 และในขณะนี้ก็ใกล้เคียงกับช่วงเ วลาของปรากฏการณ์ที่ว่านี้ด้วยเ หมือนกัน เพียงแต่ว่าความรุนแรงจะมากหรือ น้อยกว่าปีก่อนๆ เท่านั้นเอง
การดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง น้ำล้นเขื่อน ถ้าเราสามารถนำเหตุการณ์ในอดีตเ ข้ามาบริหารจัดการให้ดีและเหมาะ สม ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกป่าไม้ ยืนต้นแทนพืชไร่ การสร้างเขื่อน การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ (แก้มลิง) การสร้างฝาย ทุกๆอย่างถ้าทำให้เหมาะสม สอดคล้อง ลงตัว หรือเรียกว่าการบริหารจัดการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ความรุนแรงหรือผลกระทบที่จะเกิด กับประชาชนและประเทศชาติก็น่าจะ ลดน้อยถอยลง
สนับสนุนบทความโดยนายมนตรี บุญจรัส
กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้อง การคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร . 02 986 1680 – 2
สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประช าสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2029 9417, 081 732 7889
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น