ชาวภาคใต้ โดยส่่วนใหญ่ คงไม่มีใครไม่รู้จัก หรือ ไม่เคยได้ลองกินลูกเนียง ลักษณะ ลูกเนียง เป็นไม้ยืนต้น ผลผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า มีเปลือกแข็ง ต้นเป็นสีเทา หรือ น้ำตาลอ่อน ปนเทา ส่วนของยอดอ่อนใบจะออกเป็นสีแดง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก เป็นช่อ มีกลิ่นแรง
เนื้อด้านใน รับประทานได้ หากเก็บมาที่ผลลูกเนียงยังอ่อนอยู่เปลือกในที่ติดกับเม็ดจะเป็นสีเหลืองนวลอ่อนๆ สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุก หรือแบบดิบๆ ก็ได้
หากท่านนำผลของลูกเนียงอ่อนไป ต้มสุก เนื้อจะมีความเหนียวหนึบรสมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น รับประทานคู่กับ เนื้อมะพร้าวขูดเคล้ากับน้ำตาลทราย อร่อยสุดๆเลยทีเดียวคะ
หากรับประทานแบบดิบ ผลจะมีกลิ่นแรง ส่วนใหญ่จะนิยมนำไป จิ้มน้ำพริก กินกับขนมจีน ถ้ามีมากจะนำไปเพาะ หรือนำไปดองก่อนรับประทาน ก็อร่อยสุดๆเช่นกันคะ
คุณค่าทางอาหาร ลูกเนียง มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน กรดโลฟิค มีแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก กรดอะมิโน 18 ชนิด และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบ 8 ชนิด
สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกของเมล็ด : แก้โรคเบาหวาน
ใบ : นำมาขยี้-ตำพอกแก้โรคผิวหนัง
พิษ ลูกเนียง บางคนกินลูกเนียงแล้วแพ้ คนท้องถิ่นเรียกว่า “เนียงมัด” จะเกิดหลังกินลูกเนียง 2 – 14 ชั่วโมง จะเป็นโรคเกี่ยวกับไต ปวดขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะแต่อาจไม่มีปัสสาวะหรือไม่ออก ปัสสาวะขุ่นข้น บางคนปวดท้องแบบโคลิค (Colic) ปวดท้องน้อย ปวดหลัง อาจคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง บางคนอาจมีอาการรุนแรงคล้ายโรคนิ่วในไตหรือในท่อปัสสาวะ และอาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะหายใน 3-4 วัน บางรายอาจมีไข้ต่ำ ปัสสาวะน้อย
แต่อาการแพ้จะเกิดขึ้นในบางคราวและบางคนเท่านั้น บางคนกินมาตลอดชีวิตไม่เป็นอะไร แต่บางคนกินครั้งเดียวก็เป็นนิ่วเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านภาคใต้จึงยังนิยมกินลูกเนียงกันอยู่
การป้องกันและรักษา
การป้องกัน อาจทำได้ 3 วิธี คือ
1. เอาลูกเนียงมาผ่าแล้วแผ่ให้เป็นแผ่นบางๆ ตากแดดก่อนรับประทาน
2. เอาลูกเนียงฝังทรายจนกระทั่งมีหน่อ ที่เรียกว่า “ลูกเนียงเพาะ” ตัดหน่อทิ้งแล้วจึงรับประทาน
3. การต้มลูกเนียงในโซเดียมไบคาร์บอเนต 4% เวลา 10 นาที สามารถสกัดกรดเจงโคสิค (djenkolic acid) ออกได้ 50% ฉะนั้นการต้มลูกเนียงให้นาน ก็จะกินได้อย่างปลอดภัย
การรักษา
1. ให้ผู้ป่วยกินโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือให้ทางเส้นเลือด และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อจะได้ละลายผลึกที่ตกค้าง และขับออกมาทางท่อปัสสาวะ
2. ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะออกน้อย อาจจำเป็นต้องสวนสายยางเข้าทางท่อปัสสาวะและชะล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต 3.5%
สรุปท่านคิดว่า ลูกเนียง เป็นผลไม้หรือ ผัก แล้วใครเคยรับประทานบ้าง ท่านชอบรับประทานแบบสุก หรือ แบบดิบๆ บอกหน่อยนะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น