กรมสุขภาพจิตเตรี ยมเปิดศูนย์นิทราเวช ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้ าพระยา เพื่อตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติ มผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาการนอน มีเครื่องตรวจคลื่นสมองช่ วยในการประเมินอาการและการวิจั ยผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติ ทางสมองหรือผู้ป่วยโรคสมองอื่นๆ คาดจะเริ่มในต้นปีหน้า พร้อมทั้ งเร่งศึกษาวิจัยวั ดการทำงานของสมองด้านความคิ ดความจำของผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสื่ อมทางสมอง ยกระดับมาตรฐานการดูแลในอนาคตดี ยิ่งขึ้น
วันนี้ ( 31 กรกฎาคม 2561) นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุ ขภาพจิต และคณะ ตรวจเยี่ยมสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพั ฒนาระบบบริการผู้ป่วยจิ ตเวชและผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในปี งบประมาณ 2561 และให้สัมภาษณ์ว่ า ในรอบ 3 เดือนมานี้ สถาบันฯมี ผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้ามาก มีการปรับเปลี่ยนระบบบริ การสนองตามนโยบายของกรมสุขภาพจิ ตทั้งสถานที่และการบริการ จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมเป็นมิตร ให้เกียรติผู้ป่วยทุกจุดบริ การ ที่นั่งรอรับบริการมีความสุ ขสบายขึ้นกว่าเดิม ลดและขจัดตราบาปผู้ป่วย ให้บริ การอบอุ่น ลดขั้นตอนให้กระชับขึ้น จากกา รสอบถามผู้ใช้บริการรายเก่าที่ แผนกผู้ป่วยนอกพบว่ามีความพึ งพอใจได้รับบริการเร็วขึ้น ได้รับยากลับบ้านหลังตรวจรั กษาแล้วภายใน 75 นาที
ส่วนการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลังพ้ นภาวะวิกฤติโดยทีมสหวิชาชีพ ขณะนี้ดำเนินการทั้งผู้ป่ วยในและดำเนินการในรู ปแบบของโรงพยาบาลกลางวัน ฟื้ นฟูผู้ป่วยที่อาการทางจิตทุ เลาแล้วแบบเช้าเย็นกลับวันละ 30 -35 คน ออกแบบการดูแลเหมาะสมกั บผู้ป่วยเฉพาะรายเช่นเดียวกับต่ างประเทศ เน้นความสอดคล้องกั บวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิ มของผู้ป่วย จนผู้ป่วยมี อาการหายขาดหรือทุเลา เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์ครบถ้ วนทั้งกาย ใจ จิต สังคมและวิญญาณ มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจ มีความหวั ง สามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครั วและชุมชนได้อย่างมีความสุข และไม่กลับมาป่วยซ้ำอีก ซึ่งเป็นจุดเด่นและเป็นรูปแบบที่ เป็นหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่ วยทางจิตที่มีอาการยุ่งยากซับซ้ อนของโรงพยาบาลจิตเวช และมี นโยบายให้เพิ่ม ห้องสั นทนาการให้ผู้ป่วยที่ผ่านการฟื้ นฟูสมรรถภาพแล้ว เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยผ่อนคลายและฟื้นคืนสู่ สภาพปกติเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับแผนการพัฒนาสถาบันจิ ตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิตจะให้เป็นสถาบันเชี่ ยวชาญเฉพาะทางด้านประสาทจิ ตเวชศาสตร์ระดับประเทศขนาด 500 เตียง โดยในปีนี้ได้เปิดคลินิ กฟื้นฟูความจำในผู้ป่ วยโรคสมองเสื่อมทั้งชนิดทั่ วไปและสมองเสื่อมที่มี อาการทางจิตร่วมด้วย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ แล ะในปีหน้าหน้าเตรียมเปิดศูนย์นิ ทราเวช หรือ ศูนย์การนอนหลับ (Sleep Lab) สำหรับผู้ป่วยจิตเวชซึ่งส่ วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่ องการนอนหลับ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมี การตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม ศูนย์นี้จะมีการประเมินทั้ งระบบหัวใจโดยตรวจคลื่นไฟฟ้าหั วใจหรืออีเคจี (Electrocardiography:EKG) และจัดซื้อเครื่องตรวจคลื่ นสมองหรืออีอีจี (Electroencephalography : EEG)และตรวจการหายใจขณะนอนหลับ เป็นแห่งเดียวและแห่ งแรกของกรมสุขภาพจิต ซึ่งจะมี ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉั ยประเมินอาการและวิจัยในผู้ป่ วยจิตเวชที่มีความผิดปกติ ทางสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ มีอาการชัก หรือผู้ป่ วยโรคสมองอื่นๆ เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉั ยแยกโรคได้อย่างแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษายิ่ งขึ้น คาดว่าจะเปิดบริการในต้นปีหน้า ขณะนี้ได้เตรียมอุปกรณ์และบุ คลากรไว้พร้อมแล้ว
ทางด้านนายแพทย์นพดล วาณิชฤดี ผู้อำนวยการสถาบันจิ ตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่ าวว่า ในปีนี้สถาบันฯได้ร่วมกับสถาบั นวิชาการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยจิ ตเภท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่พบได้บ่ อยที่สุดประมาณร้อยละ 50 ทั้งผู้ ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยร่วมศึ กษากับมหาวิทยาลัยมหิดล 2 เรื่ อง ได้แก่ 1.การวิจัยหาความสัมพั นธ์ระหว่างกลไกการอักเสบในร่ างกายกับการเกิดโรคจิตเภท 2. การวัดการทำงานของสมองเกี่ยวกั บความคิดความจำของผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่ทำให้ เกิดความเสื่อมทางสมอง ทำให้ความคิด ความจำบกพร่อง และวิจัยร่วมกับสถาบันการศึ กษาหลายแห่งอาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศรีธัญญา คือ.การศึกษาปัจจัยทำนายความพิ การยาวนานในผู้ป่วย จิตเภท ใช้เวลา 2 ปี ซึ่งหากสำเร็ จจะช่วยยกระดับการดูแลผู้ป่วยจิ ตเภทในอนาคตให้มีประสิทธิภาพยิ่ งขึ้น
ทั้งนี้ในปี 2561 มีผู้ป่วยใช้ บริการที่สถาบันจิตเวชศาสตร์ฯ มากขึ้น โดยที่แผนกผู้ป่วยนอก มีผู้ใช้บริการรวม 130,000 คน ส่วนใหญ่มาจากเขตกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 24 และมีผู้ป่วยในนอนพักรักษาและฟื้ นฟูรวม 140,000 คน เฉลี่ยวันละ487 คน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น