กรมสุขภาพจิต เร่งพัฒนาโปรแกรมป้องกันเด็กรั งแกกันในโรงเรียนระดับประถมศึ กษา สร้างวัฒนธรรมความปลอดภั ยในโรงเรียน คาดพร้อมใช้ในปีการศึกษาหน้า เผยขณะนี้ปัญหาเด็กรังแกกั นในโรงเรียนของไทยสูงถึงร้อยละ4 0 ติดอันดับ 2 ของโลก พบปีละประมาณ 6 แสนคน มีการรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ สังคมควรเร่งใส่ใจ ย้ำปัญหานี้ส่งผลกระทบระยะยาว เป็นการปลูกฝังเด็กเรื่องความรุ นแรง ทำร้ายกัน เด็กที่เป็นผู้กระทำอาจเป็นผู้ ใหญ่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้สถานการณ์การรังแกกั นในโรงเรียนมีแนวโน้มทวีความรุ นแรงขึ้น ไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจ เด็กที่รังแกกันมีตั้งแต่ระดั บอนุบาล และที่น่าห่วงคือขณะนี้เด็กเข้ าถึงสื่อโซเซียลง่าย พ่อแม่และครูมีเวลาให้เด็ กน้อย เด็กเรียนรู้ความรุนแรงจากเกม สื่อต่างๆและไปใช้กับเพื่อน เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญการถูกรั งแก ล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น และยังพบปัญหาใหม่มีการรังแกกั นผ่านสื่อออนไลน์ทั้งการใช้ข้ อความ ภาพ หรือวิดีโอคลิปบนโลกอินเตอร์เน็ ตด้วย
ข้อมูลผลการสำรวจในโครงการติ ดตามสภาวการณ์เด็ กและเยาวชนรายจังหวัด พบว่ามีเด็กถูกรังแกในสถานศึ กษาปีละประมาณ 6 แสนคน ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลกที่มีสัดส่วนนักเรียนถู กรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกั นสูงถึงร้อยละ 40 รองจากประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึ กษาในสถาบันการศึกษาทั่ วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ43 บอกเคยถูกคนอื่นรังแก
“การรังแกกันหรือล้อเลียนกั นในโรงเรียน เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลู กฝังเด็กเรื่องความรุนแรง การทำร้ายกัน มีผลกระทบต่อเด็กทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งอารมณ์จิตใจร่างกายและคุ ณภาพชีวิตในระยะยาว นักเรียนที่ถูกรังแกมักเครียด ซึมเศร้า มีปัญหาการเข้าสังคมจนโต หากถูกกดดันรุนแรงหรือเรื้อรัง จะนำไปสู่การทำร้ายคนอื่นเพื่ อแก้แค้น หรือทำร้ายตนเอง รุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ขณะที่นักเรียนที่รังแกคนอื่ น เมื่อทำบ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสั ยเคยชิน จะมีปัญหาบุคลิกภาพแบบใช้ความก้ าวร้าว ความรุนแรงต่อผู้อื่น ความรู้สึกผิดน้อย ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้ สังคมจึงต้องช่วยกันใส่ใจ เร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั้ งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อลดการสูญเสียคุ ณภาพประชากรในสังคมที่เกิ ดจากผลกระทบปัญหานี้ในระยะยาว” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว
ทางด้านแพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็ กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันฯ อยู่ระหว่างการวิจัยและพั ฒนาโปรแกรมป้องกันการรังแกกั นในโรงเรียนที่สอดคล้องกับบริ บทโรงเรียนไทย โดยจะเน้นที่กลุ่มเด็กระดับชั้ นประถมศึกษา อายุ 6-13 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยของการเรียนรู้ เรื่องเพื่อน การพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการด้านศีลธรรมและการอยู่ ในสังคมที่สำคัญ
“ โครงการพัฒนาโปรแกรมครั้งนี้ มุ่งเน้นเพื่อการทำงานร่วมกั นของหน่วยงานต่างๆ ที่เหมาะกับบริบทไทย สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร มีความเชื่อมต่อระหว่ างกระทรวงสาธารณสุข กับสถานศึกษา ครู ผู้บริหารโรงเรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพขึ้น คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์แบบ พร้อมใช้ทั่วประเทศในปีการศึ กษาหน้านี้” แพทย์หญิงมธุรดากล่าว
แพทย์หญิงมธุรดากล่าวอีกว่า ในการลดปัญหาการรังแกในโรงเรียน จะต้องให้ความสำคัญทั้งกลุ่มเด็ กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกสู งด้วย เช่น เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเด็กนักเรียนเพศทางเลือก ซึ่งมีรายงานมักถูกรังแกมากเป็ นพิเศษ และเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมี การใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น ซึ่งมักพบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่ เป็นผู้รังแก ทั้งนี้ที่ผ่ านมาประเทศไทยเองมีต้นทุ นการดำเนินงานในเรื่องนี้อยู่บ้ างแล้วจากองค์กรแพธทูเฮ้ลท์
( PATH2HEALTH) ซึ่งเป็นองค์ กรเอกชนสาธารณประโยชน์ และสสส. แต่ยังเป็นการดำเนินงานนำร่ องในบางโรงเรียน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น