พระมหาธาตุแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น http://xn--l3cge3ci1fj4j4c.com/?page_id=25
ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจ ากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานป ากแห วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพ ันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมือง เก่าตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีม าครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋ ) และได้รับพระราชทานวิสุงคาม สีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริ เวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศต ะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527
ภายในองค์พระธาตุ มีอยู่ 9 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบ ริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริ กธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระ ประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระ บรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์ ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมื อของที่ประดิษฐานพระบรมสารี ริกธาตุพระพุทธเจ้า ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้าย มือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหร ับตักบาตร ที่เรียกว่า “ ตักบาตร 108” โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั ้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตั กบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระส าวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแ ก่ตนเองและครอบครัว เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประ จำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประด ิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนัก ท่องเที่ยวได้สักการะพระพุท ธรูปประจำวันเกิดของตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิ ดเรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการจะทำนายโชคชะต าด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือย กช้างทองเหลือง เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปร ารถนาหรือไม่
ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่อ งใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูไ ด้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผ นังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของ คนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอ ยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้า มแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ
ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลา ยเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทา นเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อก ันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรว มตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภ ิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจั งหวัดขอนแก่น
ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวม ของเก่า บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปล ัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบานประตูหน ้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิท านชาดกเรื่องเวสสันดร
ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิท านเรื่องพระเตมีย์มีใบ้
ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสน ามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น
ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธ าตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัว เมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออก สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึ งแก่นนครที่สวยงาม
ภาพโดย New Delight
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น